วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

1.5 ใส่ข้อความในเว็บเพจด้วย Dreamweaver

    เริ่มต้นด้วยการสร้างหน้าเว็บเพจ การสร้างเอกสารใหม่ของ dreamweaver นั้นทำได้ง่ายมากเมื่อเปิดโปรแกรมขึ้นมาจะเห็นว่ามีหน้าจอดังภาพ เราสร้างเอกสารได้จากหน้าจอนี้ดังรูป



จากหน้าจอจะเห็นว่ามีชนิดไฟล์มากมายที่เราสามารถสร้างได้ แต่ในบทนี้จะขอพูดถึงแค่ HTML เท่านั้น

นอกเหนือจากการใช้หน้าจอเริ่มต้นเมื่อเปิดโปรแกรมเรายังสามารถสร้างเอกสารใหม่ได้ด้วยการไปที่ Menu เลือก File > New Document จะมีหน้าจอให้เลือกดังรูปด้านล่าง เลือก Blank Page > HTML



เลือก Create จะได้เอกสาร HTML ขึ้นมา ให้เรา save ทันทีโดยไปที่ Menu เลือก File > save

การตั้งชื่อให้กับเว็บเพจ

    การตั้งชื่อให้กับเว็บเพจนั้นจะต้องตั้งเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น และการตั้งชื่อห้ามมีการเว้นวรรคในชื่อ เราอาจใช้เครื่องหมาย underscore (_) หรือ hyphen (-) แทนการเว้นวรรคได้

    หน้าหลักที่จะต้องมีในเว็บไซต์คือหน้า index.html หน้านี้เปรียบเสมือนกับสารบัญของเว็บไซต์ เมื่อเราพิมพ์ชื่อเว็บไซต์ หน้า index.html จะถูกนำมาแสดงเป็นหน้าแรก



เริ่มต้นใส่เนื้อหาให้เว็บเพจ
    การใส่เนื้อหานั้นทำได้ง่ายมาก แค่เราคลิกที่ Document window ก็สามารถพิมพ์เนื้อหาลงไปได้เลย ดังตัวอย่างพิมพ์ข้อความว่า ท่องเที่ยววัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) เพื่อเป็นหัวข้อของเว็บเพจอันนี้

การสร้างหัวข้อให้กับเว็บเพจ

    จากเนื้อหา HTML เราทราบอยู่แล้วว่าการสร้างหัวข้อให้กับข้อความนั้น เราจะให้คำสั่ง <h1>หัวข้อขนาดใหญ่มาก</h1> , <h2>หัวข้อขนาดเล็กลงมา</h2> การใส่หัวข้อให้กับเว็บเพจนั้น เป็นเรื่องที่สำคัญมาก แต่หลายคนมักละเลยเรื่องนี้ Search Engine หลายแห่ง เช่น Google นั้นจะให้ความสำคัญกับคำที่เป็นหัวข้อของแต่ละเว็บเพจมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งหัวข้อที่อยู่ใน <h1>

เราสามารถสร้างหัวข้อใน dreamweaver ได้โดย

    1.เลือกที่คำที่ต้องการให้เป็นหัวข้อ

    2.ไปที่ Property inspector จะมีคุณสมบัติของตัวอักษรให้เราเลือก ให้เราดูที่ Format จะมีรายการหัวข้อขึ้นมาให้เลือก ดังรูป



เปลี่ยน font และขนาดตัวอักษร

    เราสามารถเปลี่ยน font ที่ใช้ในการแสดงตัวอักษรและขนาดของตัวอักษรได้ โดย

    1.เลือกตัวอักษรที่ต้องการเปลี่ยน

    2.ไปที่ Property inspector เลือก font จะมีรายการแสดงชื่อ font มากมายให้เลือก

    3.การปรับขนาดก็ไปที่ size แล้วเลือกขนาดที่เราต้องการได้ทันที



    สามารถเปลี่ยน font ในรายการที่แสดงอยู่ได้โดยคลิกที่ท้ายของรายการจะมีหัวข้อ Edit font list สามารถปรับเปลี่ยนรายการได้

** หมายเหตุ ** font ที่ใช้แสดงผลนั้นจะถูกดึงมาจากเครื่องของผู้ที่มาเปิดเว็บของเรา ถ้าเครื่องนั้นไม่มี font ที่เรากำหนดไว้ก็จะไม่แสดงผลตามที่กำหนด ดังนั้นควรกำหนด font ที่มีอยู่ในทุกเครื่อง เช่น

     ระบบปฏิบัติการ window จะมี Tahoma

     ระบบปฏิบัติการ linux จะมี loma

การขึ้นย่อหน้าใหม่ หรือเริ่มบรรทัดใหม่

    ในการขึ้นบรรทัดใหม่ทำได้ดังนี้

    1.กด Enter เพื่อทำการขึ้นบรรทัดใหม่ ตัวอักษรที่เราพิมพ์มาทั้งหมดจะอยู่ใน <p> </p> โดยอัตโนมัติ

    2.กด shift + enter จะทำการแทรก <br /> ใน code

    ในส่วนของการแสดงผล <p> </p> จะทำให้ความห่างของบรรทัดมีมากว่าการใช้คำสั่ง <br>

เครื่องมืออื่นที่เกี่ยวกับตัวอักษร ก็มีการใช้งานเหมือนกับตัวอย่างข้างบนทั้งหมด

1.4กำหนด Site ขั้นตอนสำคัญที่สุดของการทำเว็บด้วย Dreamweaver

    การกำหนดไซต์มีความสำคัญมากในการทำเว็บด้วย Dreamweaver ไม่ว่าจะสร้างเว็บไซต์ใหม่ หรือ แก้ไขเว็บไซต์เก่าที่เคยทำมาแล้ว การกำหนดไซต์เป็นขั้นแรกของการทำเว็บด้วย Dreamweaver เป็นการกำหนดให้โปรแกรมทราบที่อยู่ของไฟล์ต่างของเว็บไซต์ที่เราทำไว้ ทำให้โปรแกรมสามารถดึงมาแก้ไขได้

    เครื่องมือต่างๆของ Dreamweaver นั้นจะทำงานโดยอ้างอิง site ที่เรากำหนดทั้งหมด ถ้าไม่ได้กำหนด site ก็ทำให้เครื่องมือเหล่านั้นแทบจะหมดความหมายไปเลยทีเดียว

    สิ่งแรกที่เราจะต้องเข้าใจในการทำเว็บไซต์คือ ไฟล์ทั้งหมด ทั้งรูปภาพ ไฟล์เอกสารต่างๆ เช่น HTML หรือไฟล์ VDO ที่อยู่ในเว็บไซต์ จะถูกรวมอยู่ใน Folder เดียวเราจะเรียก Folder นั้นว่า local root folder

ขั้นตอนการกำหนด site
    1.ไปที่ Menu เลือก Site > New site จะปรากฏหน้าต่างดังรูปข้างล่างขึ้นมา

    2.ที่แถบด้านบนสุดเลือก Advanced ถ้าเราเลือกที่แถบ Basic จะเป็นการกำหนดแบบอัตโนมัติซึ่งโปรแกรมจะถามเราไปที่ละขั้นตอน



    3.แถบ Category ทางซ้ายมือให้เลือก Local Info

    4.ช่อง Site name จะใส่ชื่ออะไรลงไปก็ได้ เป็นแค่ชื่ออ้างอิงที่ใช้ในโปรแกรมเท่านั้น เพราะผู้ใช้งาน Dreamweaver อาจทำเว็บไซต์มากกว่า 1 จึงต้องตั้งชื่ออ้างอิงเอาไว้

    5.ช่อง Local root folder ให้เราคลิกที่รูป folder สีเหลืองเพื่อเลือก folder ที่ใช้ในการเก็บไฟล์ทั้งหมดของเว็บไซต์ เราจะสร้าง folder นี้ไว้ที่ใดก็ได้ ถ้าคุณมีเว็บไซต์ที่ทำเสร็จแล้วต้องการจะแก้ไขก็ให้เลือก folder ที่เก็บไฟล์ของเว็บนั้นได้เลย

    6.ช่อง Default image folder ให้เราระบุสถานที่เก็บไฟล์รูปภาพของเว็บไซต์ แนะนำว่าให้เราสร้าง folder ชื่อ image เอาไว้ใน Local root folder เพื่อเก็บไฟล์รูปทั้งหมดไว้ในนั้น

    7.Links Relative to ให้เราเลือก Document เป็นการกำหนดการเขียน link ในเว็บไซต์ของเรา ส่วนการกำหนดแบบ site root จะนิยมใช้เมื่อทำงานกันหลายคนจะใช้วิธีการเขียนลิงค์โดยอ้างอิง root folder

    8.Http address เป็นชื่อเว็บไซต์ของเรา เราอาจปล่อยช่องนี้ว่างไว้ก็ได้ถ้ายังไม่มีชื่อเว็บ (url)

    9.Case-Sensitive Link ให้เลือกช่องนี้ด้วย เพื่อกำหนดให้การเขียน link เขียนแบบ case sensitive คือคำนึงถึงตัวพิมพ์ใหญ่ หรือพิมพ์เล็กในภาษาอังกฤษด้วย

    10.Enable Cache ให้เลือกช่องนี้ เพื่อกำหนดให้ dreamweaver สร้างหน่วยความจำเอาไว้จำทำให้เราสามารถทำงานได้เร็วขึ้น

    11.คลิก ok แค่นี้การกำหนด site ของเราก็เสร็จเรียบร้อย ให้เราไปเปิดดูที่ panel ทางขวามือ ในหัวข้อ file จะเห็นรายละเอียดของไฟล์ต่างๆที่เราสร้างไว้ ดังรูปด้านล่าง ในรูปตั้งชื่อเว็บว่า ex1 และกำหนด Local root folder ชื่อ ex และ save ไว้ที่ C: และสร้าง folder ชื่อ images เพื่อใช้ในการเก็บไฟล์รูป



ถ้าเราต้องการแก้ไข site ก็ให้เลือกที่ site > manage site ก็จะทำการแก้ไขการกำหนดค่าของ site ได้

ถ้าเรามีหลายไซต์สามารถเลือกแก้ไขแต่ละไซต์ได้โดยคลิกที่ปุ่มที่วงกลมสีแดงไว้ จะแสดง site ทั้งหมดที่เรามีอยู่

ที่มา :  http://www.hellomyweb.com/index.php/main/content/46

1.3 เครื่องมือต่างๆในโปรแกรม Dreamweaver

     สำหรับ Dreamweaver เป็นโปรแกรมสร้างโฮมเพจแบบเสมือนจริง โดยไม่ต้อง เขียนภาษา HTML เอง หรือที่ศัพท์เทคนิคเรียกว่า "WYSIWYG"

    เราสามารถใช้หน้าจอเสมือนจริงของ Dreamweaver ในการทำเว็บเพจได้เลย โดยใช้เครื่องมือต่างๆที่มีมาให้ดังแสดงในรูปด้านล่าง

หน้าตาของโปรแกรม Dreamweaver และชื่อเรียกเครื่องมือต่างๆ



1.2 เตรียมความพร้อมปรับแต่ง Dreamweaver ใช้งานภาษาไทยได้

ปรับแต่ง Dreamweaver ให้ทำงานกับภาษาไทยได้

1.ปรับแต่งระบบ dreamweaver ให้ทำงานกับภาษาไทยได้ เมื่อเปิดโปรแกรม Dreamweaver ขึ้นมาแล้ว เริ่มแรกเข้าไปที่ Edit > Preference



จากนั้นจะมีหน้าจอดังรูปด้านล่างให้ท่านเลือกที่เมนูทางด้านซ้ายมือในหัวข้อ Fonts และเปลี่ยนตามรูป



การเปลี่ยน font

อาจเปลี่ยนตามที่ผู้ใช้ต้องการก็ได้แต่ ต้องเป็น font ที่สามารถใช้กับภาษาไทยได้โดยมีรายละเอียดดังนี้

    Proportional font เป็นตัวอักษรที่ใช้แสดงผลในหน้าแสดงผล (Design)

    Fixed font เป็นตัวอักษรที่ใช้แสดงผลในหน้าแสดงผล เหมือนกัน เพียงแต่ว่าจะแสดงตัวอักษรที่อยู่ใน pre tag, code tag และ tt tag

    Code view เป็นตัวอักษรที่แสดงผลในหน้า code ซึ่งเราจะใช้บ่อยมากๆควรปรับให้ตัวใหญ่เพื่อความสะดวกในการอ่าน code

จากนั้นเลือก New Document จากเมนูทางซ้ายมีจะเป็นดังรูป



การเปลี่ยน head ของเอกสารใหม่

    เมื่อเราเลือกที่ new document แล้วจะปรากฏหน้าตาดังภาพด้านล่าง ซึ่งให้เราเลือกที่ Default document เป็น HTML และเปลี่ยน Default encoding เป็น utf-8

    เสร็จแล้วก็ให้ไปที่ default document อีกทีเลือก CSS และเปลี่ยน Default encoding เป็น utf-8 อีกเช่นเดียวกัน

แค่นี้ Dreamweaver ก็สามารถทำงานกับภาษาไทยได้แล้ว ติดตามตัวอย่างการใช้งาน Dreamweaver ในบทต่อไป

ที่มา : http://www.hellomyweb.com/

1.1 แนะนำ Dreamweaver

แนะนำ Dreamweaver


Dreamweaver

    Dreamweaver เป็นโปรแกรมสำหรับมืออาชีพที่ใช้ในการพัฒนาและสร้างเว็บไซต์ในปัจจุบัน และเป็นที่นิยมมาก มีเว็บไซต์ดังๆมากมายที่ใช้ Dreamweaver เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ เราจะมาดกันว่าทำไม Dreamweaver ถึงเป็นที่นิยมมีผู้ใช้งานกันมากมาย

    
ช่วยให้คุณทำงานได้เร็วขึ้น
นี่คือข้อดีอันดับต้นๆของ Dreamweaver เลยก็ว่าได้ เมื่อก่อนนั้นถ้าเราต้องการสร้างเว็บเพจ เราจะต้องเขียนภาษา HTML ขี้นมาเพื่อให้แสดงผลผ่าน browser เป็นรูปภาพหรือข้อความออกมา ซึ่งทำให้เราทำงานได้ช้าลง เพราะเราจะต้องเขียน HTML ไปและดูการแสดงผลผ่าน browser ไปว่าให้ผลถูกต้องตามที่เราต้องการหรือไม่ แต่สำหรับใน Dreamweaver โปรแกรมจะแสดงหน้าจอที่แสดงผลให้เราสามารถปรับแต่งหน้าตาของเว็บเพจของเราได้เลย โดย Dreamweaver จะทำการเขียน HTML ให้เราเอง



    
เป็น Editor ที่มีประสิทธิภาพตัวหนึ่ง
ในกรณีทีเราต้องการเขียน HTML เอง Dreamweaver ก็เป็นเครื่องมือที่อำนวยความสะดวกให้เราได้ดีมาก ไม่เพียงแต่การใช้การกับ HTML เท่านั้น Dreamweaver ก็รองรับภาษาต่างมากมายเช่น CFML, PHP, ASP, ASP.NET และอื่นอีกมากมาย ช่วยให้เราสามารถเขียน Code ได้ง่ายขึ้น



    
เป็นโปรแกรมจัดการเว็บไซต์ที่ดี
Dreamweaver ยังเป็นโปรแกรมที่ช่วยให้เราจัดการกับเว็บไซต์ของเราได้ดีขึ้น โดยมีเครื่องมือมากมาย เช่น

    1. FTP เราสามารถแก้ไขหน้าเว็บเพจของเราและส่งไปแสดงผลที่ server ได้ทันที เพราะ dreamwerver จะติดต่อกับ server ให้เราและแสดงไฟล์ของเราที่อยู่ใน server ให้เราเห็นและแก้ไขได้ทันที่ที่เราต้องการถือเป็นเครื่องมือที่สะดวกมาก นอกจากนั้นยังช่วยให้เรามีข้อมูลของเว็บไซต์ของเราสำรองไว้ในเครื่องเราตลอดด้วย



    2. Site map เป็นเครื่องมือที่ช่วยแสดงผลเว็บไซต์ของเราให้เป็นรูปร่างขึ้นมา โดยจะแสดงให้เห็นว่าหน้าใด link ไปยังหน้าใดบ้าง โดยเราสามารถย้ายหรือ เปลี่ยนแปลง link ได้ โดยที่ Dreamweaver จะทำการเขียน Code ให้เราใหม่ทันที ถือเป็นเครื่องมือที่ดีมาก เพราะความจริงแล้วเราต้องแก้เว็บเพจของเราตลอด

    
ช่วยให้เราทำเว็บได้ง่ายขึ้น
สำหรับคนที่ไม่เคยทำเว็บมาก่อนก็สามารถใช้ Dreamweaver เพียงโปรแกรมเดียวเพื่อพัฒนาเว็บไซต์ของตัวเองขึ้นมาได้ง่ายเหมือนกับการเขียนหนังสือ และสำหรับคนที่เชี่ยวชาญ Dreamweaver ก็ทำให้เรามีความคล่องตัวขึ้นเพราะตอนนี้ Dreamwerver มีเครื่องมือมากมายและทำงานเชื่อมต่อกับโปรแกรมดังๆมากมายเช่น Photoshop,Illustrator,Flash หรือแม้แต่กระทั่งการใช้ในลักษณะ Dynamic webpage ก็พัฒนาขึ้นมาก จะเห็นว่าใน Dreamweaver CS3 นั้นมีการใช้งานในส่วนของ Ajax เพิ่มมาอีกด้วยรวมถึงการใช้งาน CSS ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาก นี่ยังไม่รวมถึง Template มากมายที่ช่วยในการจัดข้อความ ,หน้าตาของเว็บเพจ และเครื่องมืออีกมากมาย

    ในบทความนี้คงทำให้มองภาพของ Dreamwerver ว่าเป็นเครื่องมือที่อำนวนความสะดวกมากจริงๆ ถ้าลองใช้ดูจะเห็นได้ว่า Dreamweaver นั้นพัฒนาไปมากจากเวอร์ชันแรกๆที่ออกมา และช่วยลดเวลาในการพัฒนาเว็บไซต์ลงได้มาก

ที่มา : http://www.hellomyweb.com/

วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การทำโฆษณาแบบพับเก็บได้

การทำโฆษณาแบบพับเก็บได้ หลายคนอาจจะสงสัยว่าเว็บดังๆ เขาทำโฆษณากันอย่างไรแบบที่วิ่งอยู่บนหน้าจอ แล้วยังสามารถพับเก็บได้ การทำก็มีด้วยกันหลายแบบเช่นรูปภาพ หรือไม่ก็ Flash ปัจจุบันก็ยังเป็นที่นิยมกันอยู่ มาดูการทำดีกว่าเดี๋ยวจะไม่เสร็จ
ขั้นตอนการทำ
1. เตรียมรูปภาพ โดยอาจจะวาด หรือเขียนปุ่มปิดไว้ในรูปด้วยโปรแกรมให้เรียบร้อย ดังภาพตัวอย่าง

2. จากนั้นวาด Layer ลงในเว็บเพจ 1 Layer พร้อมตั้งชื่อ "ads" ดังภาพ

3. จากนั้นนำรูปภาพที่เตรียมไว้วางใส่ลงไปใน Layer ใช้ Hotspot สร้างส่วนที่จะให้ผู้ใช้กดปุ่มปิดหน้าต่าง ดังภาพ

4. เลือกเครื่องมือ Behaviors (Shift+F3) ใช้ Action เครื่องมือ Show-Hide Layers สั่งให้ซ่อน Layer "ads" ดังภาพ
* ถ้า Show-Hide Layers ไม่ขึ้นให้เลือกที่จุด Hotspot ที่เราสร้างไว้ตอนแรกก่อน


5. จากนั้นให้สังเกตุที่เครื่องมือ Behaviors สถานะของ Mouse อยู่ที่ onMouseOver ให้เราทำการเปลี่ยนเป็น onClick ดังภาพ
* ถ้าไม่มีให้เลือกให้ไปแก้ที่โค้ดแทนก็ได้

<== ก่อนที่ยังไม่ได้แก้
<== หลังที่ได้ทำการแก้ไขโค้ดแล้ว
6. จากนั้นก็ทำการใส่ Link ให้กับรุปภาพตามปกติ (จะลิงค์มาที่ http://www.webthaidd.com/ ก็ได้นะครับ)

7. จากนั้นก็ลองทดสอบการทำงานดูครับ (รับรองว่าโปรแกรมอะไรก็มา Block ไม่อยู่)

ที่มา http://www.webthaidd.com/